หลักการ Visualization กับ Data น่ารู้

คำว่า Visualization นั้นถ้าแปลกันตรงๆก็จะได้ความหมายว่า การทำให้มองเห็น การแสดง และการนึกภาพ ซึ่งแน่นอนว่าภาพเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจบางอย่างได้ง่ายขึ้นและยังจดจำได้ดีกว่าตัวอักษร ดังนั้นการเรียนรู้เรื่อง Visualization จึงเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ เพราะหากเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จะช่วยให้การนำเสนองานของเราได้ดีขึ้น คนดูก็จะเข้าใจรายละเอียดได้มากขึ้นเช่นกัน โดยหยิบยกหลักการที่สำคัญมาฝากดังนี้

  • ทำไมต้องใช้ Visualization ? เพราะ จะทำให้เกิดกระบวนการ 3 ประการ
    1. Effective : ทำให้เห็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยการนำเสนอปกติ และสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
    2. Convincing : ชักจูงดึงดูดคนดูได้ดี
    3. Insightful : ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ข้อมูลตัวเลขทำไม่ได้
  • Visualization Variable จะมีด้วยกัน 4 แบบ คือ
    1. Length เป็นแบบความยาว อาจจะเป็นเส้นก็ได้
    2. Area เป็นพื้นที่แสดงภาพที่มีพื้นที่ปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไป
    3. Brightness เป็นการแสดงความเข้มอ่อนของสีเดียวเท่านั้น
    4. Hue เป็นการแสดงที่หลากสีสัน
  • แนวทางการนำเสนอจะมี 2 รูปแบบ ได้แก่
    1. Author-Driven โดยเป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ผู้เขียนเป็นคนขับเคลื่อน ซึ่งมักจะนำเสนอเป็นเส้นตรง (Linear) รวดเร็ว (Fast) และ ข้อความหรือสิ่งที่จะสื่อค่อนข้างชัดเจน (Clear Messages)
    2. Viewer-Driven เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ผู้มองหรือผู้ดูเป็นผู้ขับเคลื่อนและค้นหาเองในภาพ โดยการนำเสนอแบบนี้จะกระจายไม่เป็นเส้นตรง (Non-Linear) ความเร็วก็อยู่ที่ผู้มอง (Own Speed) และสิ่งที่สื่อสารจะเป็นไปในลักษณะการค้นหาที่ส่วนตัว ผู้มองสามารถดูหรือค้นหาข้อมูลจากภาพได้เองจากจุดที่ตนเองสนใจเท่านั้น (Exploratory / Personal)

หากใครสนใจอยากเรียนรู้ในรายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://space.cbs.chula.ac.th/course/129/item/1706041/ ซึ่งเป็นเรื่องราว Data Visualization สอนโดย อาจารย์ ดร. ภูริพันธุ์ รุจิขจร ( Course Overview : Data Visualization คือ การแสดงข้อมูลเป็นภาพ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่ายขึ้น วิชานี้ จะแนะนำตั้งแต่ความสำคัญของ Data Visualization ตลอดจนการนำแสดงข้อมูลที่ดี และการใช้ Data เพื่อทำ Storytelling)

การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate Strategy)

กลยุทธ์ระดับบริษัท  หรือ Corporate Level Strategy เป็นการกำหนดแนวทางการเติบโตของบริษัทว่าเราจะนำทิศทางธุรกิจไปในทิศทางไหน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัทสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการนำเครื่องมือมาช่วยในการวิเคราะห์ว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เพื่อจะกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท และแน่นอนว่าเครื่องมือก็มีหลายแบบ เช่น ตารางการเปรียบเทียบ Ansoff ’s Growth Matrix,  เครื่องมือ QSPM, SWOT Matrix, IE Matrix, Nine Cell Matrix ของ  Ge , The Competitive Profile Matrix (CPM) , TOWS Matrix , BCG Matrix , SPACE Matrix เป็นต้น หรือบางบริษัทต้องการความละเอียดและชัดเจนมากขึ้นก็สามารถนำทุกเครื่องมือมาวิเคราะห์แล้วสรุปรวมในหนึ่งตารางเดียวกันก็ย่อมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องมือเหล่านี้มาวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัท เพื่อให้เราเลือกได้ว่าจะใช้กลยุทธ์แบบไหนนั้น สุดท้ายเพื่อมาเลือกประเภทกลยุทธ์ระดับบริษัทนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราควรจะต้องรู้ว่ากลยุทธ์ระดับบริษัทนั้นมีอะไรบ้าง

กลยุทธ์ระดับบริษัทแบ่งได้ 3 แบบหลักๆดังนี้

  1. Growth Strategy กลยุทธ์เจริญเติบโต : เป็นการมุ่งเน้นการลงทุนและการขยายอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยมากเป็นกลยุทธ์ที่หลายบริษัทมักนิยมนำไปใช้ และกลยุทธ์เจริญเติบโตยังแบ่งแยกย่อยได้อีกมากมาย
    • การเติบโตแบบเข้มข้น Intensive Growth
      • Market Penetration คือ กลยุทธ์การเจาะตลาด การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เดิมในตลาดเดิม ด้วยวิธีการทางการตลาด เช่น การเพิ่มกิจกรรมด้านโฆษณา การที่เราโปรโมทสินค้าหรือบริการมากๆ การ Repositioning the brand เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บริษัทได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
      • Product Development คือ กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์เดิมด้วยวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งในการทำ Product Development นั้น ยังสามารถทำได้ด้วยการแนะนำอรรถประโยชน์ใหม่ของผลิตภัณฑ์เดิม ทั้งนี้บริษัทจะมีโครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน แยกอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามส่วนงาน รวมถึงการจัดระบบการบริหารงานภายในที่มีการกระจาย เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน
      • Market Development คือ กลยุทธ์พัฒนาตลาดใหม่ คือการรักษาฐานลูกค้ารายเดิมและเจาะกลุ่มตลาดปัจจุบันให้มากขึ้น อีกทั้งมีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องเน้นการตลาดเชิงรุกเพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มลูกค้า โดยการที่นำเอาจุดแข็งของผลิตภัณฑ์มาสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า รวมถึงการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้ารายเดิมโดยมีการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) โดยเฉพาะกลุ่มและบุคคลเพิ่มมากยิ่งขึ้น
    • การเติบโตแบบรวมตัวหรือประสม Integration Growth แบ่งได้เป็นการเติบโตแนวนอนและแนวดิ่ง ที่รวมตัวไปข้างหน้า หรือ ข้างหลังอีก
    • การกระจายธุรกิจ Diversification แบ่งเป็นกลยุทธ์แบบเกาะกลุ่ม และ กลยุทธ์แบบไม่เกาะกลุ่ม
  2. Stability Strategy กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ : เป็นกลยุทธ์ที่เก็บเกี่ยวกำไร สามารถแยกย่อยได้อีก 3 แบบ คือ
    • กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนแปลง
    • กลยุทธ์ทำกำไร
    • กลยุทธ์การหยุดชั่วคราว
  3. Retrenchment Strategy กลยุทธ์การตัดทอน : เป็นกลยุทธ์ที่ไม่นิยมนำมาใช้กัน เพราะเหมือนว่าเป็นการล้มเหลว แต่ก็เป็นกลยุทธ์ในเชิงป้องกันตัวหรือเชิงรับ ใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายก่อนที่จะล้มละลาย

Case Study: ตัวอย่างตารางสรุปเมื่อนำเครื่องมือหลายๆประเภทมาวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัท หรือ ีMatrix Analysis Summary

จากตารางข้างต้นสามารถสรุปกลยุทธ์ที่ควรจะนำไปปฏิบัติคือ กลยุทธ์การเจริญเติบโต ด้วยวิธีการ กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development) กลยุทธ์พัฒนาตลาดใหม่ (Market Development) และ กลยุทธ์การเจาะตลาด (Market Penetration)