50 อันดับบริษัทที่จดสิทธิบัตรมากที่สุด ในปี 2018

รายชื่อ 50 อันดับบริษัทที่จดสิทธิบัตรมากที่สุด ในปี 2018

อันดับบริษัทประเทศจำนวนสิทธิบัตรที่จดในปี 2018
1International Business Machines Corpอเมริกา9,100
2Samsung Electronics Co Ltdเกาหลีใต้5,850
3Canon Incญี่ปุ่น3,056
4Intel Corpอเมริกา2,735
5LG Electronics Incเกาหลีใต้2,474
6Taiwan Semiconductor Manufacturing Co (TSMC) Ltdใต้หวัน2,465
7Microsoft Technology Licensing LLCอเมริกา2,353
8Qualcomm Incอเมริกา2,300
9Apple Incอเมริกา2,160
10Ford Global Technologies LLCอเมริกา2,123
11Google LLCอเมริกา2,070
12Amazon Technologies Incอเมริกา2,035
13Toyota Motor Corpญี่ปุ่น1,959
14Samsung Display Co Ltdเกาหลีใต้1,948
15Sony Corpญี่ปุ่น1,688
16Huawei Technologies Co Ltdจีน1,680
17BOE Technology Group Co Ltdอเมริกา1,634
18General Electric Coอเมริกา1,597
19Hyundai Motor Coเกาหลีใต้1,369
20Telefonaktiebolaget LM Ericsson ABสวีเดน1,353
21Seiko Epson Corpญี่ปุ่น1,285
22Panasonic Intellectual Property Management Co Ltdญี่ปุ่น1,254
23Boeing Coอเมริกา1,227
24Robert Bosch GmbHเยอรมัน1,136
25Mitsubishi Electric Corpญี่ปุ่น1,106
26Toshiba Corpญี่ปุ่น1,104
27GM Global Technology Operations LLCอเมริกา1,046
28Ricoh Co Ltdญี่ปุ่น1,043
29Fujitsu Ltdญี่ปุ่น1,038
30United Technologies Corpอเมริกา1,011
31Denso Corpญี่ปุ่น1,003
32AT&T Intellectual Property I LPอเมริกา985
33Honda Motor Co Ltdญี่ปุ่น926
34Micron Technology Incอเมริกา924
35Semiconductor Energy Laboratory Co Ltdญี่ปุ่น870
36Siemens AGเยอรมัน870
37Cisco Technology Incอเมริกา848
38Koninklijke Philips NVเนเธอร์แลนด์844
39Halliburton Energy Services Incอเมริกา807
40EMC IP Holding Co LLCอเมริกา801
41SK Hynix Incเกาหลีใต้801
42Texas Instruments Incอเมริกา785
43Honeywell International Incอเมริกา749
44Murata Manufacturing Co Ltdญี่ปุ่น743
45NEC Corpญี่ปุ่น715
46Toshiba Memory Corpญี่ปุ่น700
47Oracle International Corpอเมริกา685
48LG Display Co Ltdเกาหลีใต้681
49Dell Products LPอเมริกา668
50Fujifilm Corpญี่ปุ่น658

 

 

ประเทศจำนวนสิทธิบัตร
เกาหลีใต้6
จีน1
ญี่ปุ่น16
ใต้หวัน1
เนเธอร์แลนด์1
เยอรมัน2
สวีเดน1
อเมริกา21

 

ที่มาจาก ificlaims

การกำหนดกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Function Level Strategy)

กลยุทธ์ระดับหน้าที่ หรือ Function Level Strategy นั้นเป็นกลยุทธ์ที่ลงมาระดับการทำงานในแต่ละแผนกแต่ละหน่วยงานย่อยในองค์กร กล่าวคือ จะเน้นไปที่หน้าที่ของหน่วยงานแต่ละฝ่ายว่าจะนำแนวทาง วิธีการ หรือกลยุทธ์แบบไหนมาปรับใช้ให้เข้ากับสินค้าและบริการของตลาดเรา โดยกลยุทธ์ระดับหน้าที่อาจจะครอบคลุมไปถึงส่วนงานต่างๆแต่ละแผนก เช่น Operation , Marketing & Sales , Human Resource Management , Procurement , และ Finance เป็นต้น เพื่อให้เห็นภาพรวามที่เข้าใจง่ายขึ้น มาลองดูตัวอย่างกัน

Case Study: การกำหนดกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Function Level Strategy) ธุรกิจรีสอร์ท

จากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจรีสอร์ท ทำให้องค์กรต้องกำหนดกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับธุรกิจ เพื่อให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียดของกลยุทธ์ดังนี้

 

  • Operation: บริษัทได้กำหนดแผนการดำเนินการในระยะสั้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการที่ให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากร และใช้การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) โดยวิธีการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ในการวัดผลการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการ
  • Outbound Logistics: เนื่องจากธุรกิจของบริษัท เป็นธุรกิจการให้บริการ บริษัทจึงไม่มีการขนส่งสินค้าออก
  • Marketing & Sales:บริษัทมุ่งให้ความสำคัญกับการบริการที่มีความแตกต่าง (Product Difference) กำหนดราคาที่ราคาตลาด (Market Price) บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมทางการตลาดเป็นกลยุทธ์แบบดึง (Pull Strategy) เพื่อเป็นการเน้นให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้ให้เกิดความรู้สึก ความต้องการที่จะรับการบริการจากกันภัยรีสอร์ท และบริษัทยังให้ความมสำคัญกับการสื่อสารทางการตลาดแบบผสมผสาน (Integrated Marketing Communication) อีกด้วย
  • Customer Service: บริษัทนั้นให้ความสำคัญกับการให้บริการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งบริษัทจะมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริการข้อมูล และตอบข้อสงสัยแก่ลูกค้า ตลอดจนรับฟังข้อติชมการให้บริการจากลูกค้า เพื่อนำข้อเสนอและข้อติชมจากลูกค้ามาปรับปรุงและตอบสนองให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายการตลาด
  • Firm Infrastructure: บริษัทใช้โครงสร้างแบบแนวนอน (Flat Organization) โดยแบ่งการทำงานตามหน้าที่ (Functional) ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการตั้งทีมงานขึ้นมา (Self-Management Team) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้โครงสร้างแบบแนวนอนนั้นจะช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร และทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย
  • Technology Development:บริษัทจะหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการจัดการภายในองค์กร และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุนต่อหน่วย และให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
  • Human Resource Management: บริษัทจะสรรหาคนที่มี Competency ตรงกับลักษณะที่บริษัทต้องการ และบริษัทจะมีนโยบายในการสร้างคนและสร้างระบบ เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้บุคลากรมีความพร้อมในการปฎิบัติงานในหน้าที่ของตนเอง สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข็มแข็งและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัท และพัฒนาระบบการบริหารองค์กรและทรัพยากรของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • Finance: จัดหาบุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อจัดทำงบการเงินต่างๆ อย่างเป็นระบบ ชัดเจนและถูกต้อง วางระบบสำคัญต่างๆ ได้แก่ ระบบการบริหารการเงิน ระบบการควบคุมลูกหนี้และเจ้าหนี้ ระบบการจัดซื้อ และระบบการขาย เป็นต้น และปรับปรุงระบบบัญชีและการเงินให้มีมาตรฐาน
  • Procurement: บริษัทนั้นจะมีการจัดซื้อ และจัดหาวัตถุดิบที่จะใช้ในการให้บริการจากแหล่งวัตถุดิบชั้นดี ซึ่งในการจัดซื้อวัตถุดิบนั้น บริษัทจะมีขั้นตอนการจัดซื้อและตรวจสอบอย่างเป็นระบบ เพื่อความโปร่งใสในการปฎิบัติงาน
  • Key Success Factors: KSF
  1. Brand Awareness
  2. Cost
  3. Customer Satisfaction
  4. Efficiency
  5. Market Share Quality
  6. Value added

 

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าการทำกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Function Level Strategy) นั้นเราจะต้องลงลึกไปในรายละเอียดแต่ละแผนกแต่ละส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้อง ดังนั้นถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรบางอย่างจึงจำเป็นจะต้องคิดทุกอย่างให้รอบครอบ กำหนดกลยุทธ์การทำงานระดับปฏิบัติการในทุกๆจุด เพื่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

การกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy)

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Level Strategy) นั้นเป็นการวางตำแหน่งของธุรกิจหรือบริษัทของเราว่าจะแข่งขันกับตลาดไปในทิศทางไหน ใช้อะไรมาเป็นตัวแข่งขันบ้าง ซึ่ง กลยุทธ์ระดับธุรกิจที่นิยมนำมาใช้ก็มีหลายแบบดังนี้

 

  • Cost leadership หรือ กลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน : เป็นการเน้นด้านการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและที่สำคัญคือมีต้นทุนที่ถูกกว่าตลาดมากๆ ส่งผลให้ได้กำไรมากหรือมีผลต่อการแข่งขันด้านราคาในตลาด คือเป็นผู้นำในด้านราคาได้นั่นเอง
  • Competitive advantages หรือ กลยุทธ์ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน : เป็นการสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยมุ่งที่การผลิตสินค้าและบริการที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในอุตสาหกรรม มากกว่าการเน้นด้านราคา
  • Quick-response หรือ กลยุทธ์การปรับตัวที่รวดเร็ว: เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
  • Focus Differentiation หรือ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างมุ่งลูกค้าเฉพาะกลุ่ม : เป็นกลยุทธ์มุ่งที่การผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
  • Cost Focus หรือ กลยุทธ์ด้านต้นทุน : เป็นกลยุทธ์ที่เน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มและเน้นด้านราคาเป็นหลัก

จากหลักการกลยุทธ์ระดับธุรกิจข้างต้นจะเห็นว่ามีหลากหลายแนวทางกลยุทธ์ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้กับธุรกิจของเราถ้าเราต้องการเป็นผู้นำในด้านไหน หรือมองว่าสินค้าและบริการของธุรกิจเราเหมาะกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจแบบไหนก็ควรจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพตลาดและธุรกิจของเรา

การกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate Strategy)

กลยุทธ์ระดับบริษัท  หรือ Corporate Level Strategy เป็นการกำหนดแนวทางการเติบโตของบริษัทว่าเราจะนำทิศทางธุรกิจไปในทิศทางไหน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัทสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการนำเครื่องมือมาช่วยในการวิเคราะห์ว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เพื่อจะกำหนดกลยุทธ์ระดับบริษัท และแน่นอนว่าเครื่องมือก็มีหลายแบบ เช่น ตารางการเปรียบเทียบ Ansoff ’s Growth Matrix,  เครื่องมือ QSPM, SWOT Matrix, IE Matrix, Nine Cell Matrix ของ  Ge , The Competitive Profile Matrix (CPM) , TOWS Matrix , BCG Matrix , SPACE Matrix เป็นต้น หรือบางบริษัทต้องการความละเอียดและชัดเจนมากขึ้นก็สามารถนำทุกเครื่องมือมาวิเคราะห์แล้วสรุปรวมในหนึ่งตารางเดียวกันก็ย่อมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การนำเครื่องมือเหล่านี้มาวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัท เพื่อให้เราเลือกได้ว่าจะใช้กลยุทธ์แบบไหนนั้น สุดท้ายเพื่อมาเลือกประเภทกลยุทธ์ระดับบริษัทนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราควรจะต้องรู้ว่ากลยุทธ์ระดับบริษัทนั้นมีอะไรบ้าง

กลยุทธ์ระดับบริษัทแบ่งได้ 3 แบบหลักๆดังนี้

  1. Growth Strategy กลยุทธ์เจริญเติบโต : เป็นการมุ่งเน้นการลงทุนและการขยายอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยมากเป็นกลยุทธ์ที่หลายบริษัทมักนิยมนำไปใช้ และกลยุทธ์เจริญเติบโตยังแบ่งแยกย่อยได้อีกมากมาย
    • การเติบโตแบบเข้มข้น Intensive Growth
      • Market Penetration คือ กลยุทธ์การเจาะตลาด การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เดิมในตลาดเดิม ด้วยวิธีการทางการตลาด เช่น การเพิ่มกิจกรรมด้านโฆษณา การที่เราโปรโมทสินค้าหรือบริการมากๆ การ Repositioning the brand เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บริษัทได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
      • Product Development คือ กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์เดิมด้วยวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งในการทำ Product Development นั้น ยังสามารถทำได้ด้วยการแนะนำอรรถประโยชน์ใหม่ของผลิตภัณฑ์เดิม ทั้งนี้บริษัทจะมีโครงสร้างองค์กรที่ไม่ซับซ้อน แยกอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามส่วนงาน รวมถึงการจัดระบบการบริหารงานภายในที่มีการกระจาย เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน
      • Market Development คือ กลยุทธ์พัฒนาตลาดใหม่ คือการรักษาฐานลูกค้ารายเดิมและเจาะกลุ่มตลาดปัจจุบันให้มากขึ้น อีกทั้งมีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องเน้นการตลาดเชิงรุกเพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มลูกค้า โดยการที่นำเอาจุดแข็งของผลิตภัณฑ์มาสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า รวมถึงการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้ารายเดิมโดยมีการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) โดยเฉพาะกลุ่มและบุคคลเพิ่มมากยิ่งขึ้น
    • การเติบโตแบบรวมตัวหรือประสม Integration Growth แบ่งได้เป็นการเติบโตแนวนอนและแนวดิ่ง ที่รวมตัวไปข้างหน้า หรือ ข้างหลังอีก
    • การกระจายธุรกิจ Diversification แบ่งเป็นกลยุทธ์แบบเกาะกลุ่ม และ กลยุทธ์แบบไม่เกาะกลุ่ม
  2. Stability Strategy กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ : เป็นกลยุทธ์ที่เก็บเกี่ยวกำไร สามารถแยกย่อยได้อีก 3 แบบ คือ
    • กลยุทธ์ไม่เปลี่ยนแปลง
    • กลยุทธ์ทำกำไร
    • กลยุทธ์การหยุดชั่วคราว
  3. Retrenchment Strategy กลยุทธ์การตัดทอน : เป็นกลยุทธ์ที่ไม่นิยมนำมาใช้กัน เพราะเหมือนว่าเป็นการล้มเหลว แต่ก็เป็นกลยุทธ์ในเชิงป้องกันตัวหรือเชิงรับ ใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายก่อนที่จะล้มละลาย

Case Study: ตัวอย่างตารางสรุปเมื่อนำเครื่องมือหลายๆประเภทมาวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับบริษัท หรือ ีMatrix Analysis Summary

จากตารางข้างต้นสามารถสรุปกลยุทธ์ที่ควรจะนำไปปฏิบัติคือ กลยุทธ์การเจริญเติบโต ด้วยวิธีการ กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development) กลยุทธ์พัฒนาตลาดใหม่ (Market Development) และ กลยุทธ์การเจาะตลาด (Market Penetration)