แล้วเราก็ไป Download datasheet ของ BR24G256 จากเว็บของ ROHM มาดูก็จะเห็นว่าเขาจะมีการ Marking Part number เป็น 4G25 ส่วนอีกบรรทัดหนึ่งด้านล่างก็จะเป็นเลข Lot number ของการผลิต
เพียงแค่นี้เราก็จะสามารถหาข้อมูลจากเลขหรือตัวอักษรที่ Marking บน IC ได้แล้ว
เราจะเห็นได้ว่า ยิ่ง εr หรือ A มีค่ามากก็จะทำให้สามารถเพิ่มความจุของตัวเก็บประจุทำให้มีค่าความจุมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหาก มีระยะห่าง d ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำมากก็จะทำให้ตัวเก็บประจุมีค่าน้อย
หลักการทำงานของ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ
ก็คือ เมื่อนำตัวเก็บประจุไปต่อเข้ากับวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟครบวงจร เราจะสังเกตได้ว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ (มองเป็น Open Circuit) ก็เพราะว่าในตัวเก็บประจุมี ฉนวนกั้นอยู่
ในขณะเดียวกันก็เกิดประจุไฟฟ้าที่ไหลข้ามฉนวนไม่ได้ก็ติดอยู่ที่แผนตัวนำ ทำให้ด้านนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ(Electron)เยอะ ส่วนแผนตัวนำด้านตรงข้ามก็กลายเป็นประจุไฟฟ้าด้านบวกเพราะ Electron ไหลไปอีกด้านหนึ่งจำนวนมาก
การที่มีประจุติดอยู่ที่แผนตัวนำของ ตัวเก็บประจุ ได้ก็เพราะว่า แต่ละด้านมีประจุไฟฟ้าที่เป็นขั้วตรงกันข้ามกันทำให้เกิดสนามไฟฟ้า electric field ดึงดูดซึ่งกันและกัน (+ และ – ดึงดูดกัน) ซึ่งทำให้ตัวเก็บประจุสามารถเก็บพลังงานศักย์ หรือ แรงดัน (Voltage) ไว้ได้
การสื่อสาร (Communication) นั้นสำคัญต่อการทำงานใน ระบบ Embedded System และยังสำคัญมากในการนำไปใช้ประยุกต์ในการทำ application แบบ Internet Of things (IOT) แล้วการสื่อสารนั้นมีแบบไหนบ้างนะ
Full duplex การสือสาร สองทาง และสือสารได้ทีทั้งสองทางพร้อมกันในขณะเดียวกัน เช่น โทรศัพท์
สัณญาณของการสื่อสาร
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งสัณญาณของการสื่อสารได้อีก เป็น Digital และ Analog communication
Analog Communication ก็คือการสื่อสารที่ใช้สัณญาณ Analog (สัณญาณต่อเนื่อง) ซึ่งก็คือการสื่อสารแบบธรรมชาติต่างๆ เช่น การพูด เสียงนอกร้อง สัณญาณควัน ต่างๆ
Digital Communication ก็คือการสื่อสารแบบดิจิตอล (สัณญาณไม่ต่อเนื่อว) เป็นสัณญาณที่มนุษย์สร้างขึ้นมา 0 และ 1 ตัวอย่างเช่น สัณญาณโทรศัพท์ สัณญาณอินเตอร์เน็ต
วิธีการสือสารแบบดิจิตอล แบ่งได้อีก 2 วิธีคือ
Serial Communication การสือสารแบบอนุกรม คือว่าส่งข้อมูลทีละบิต
Parallel Communication การสือสารแบบขนาน คือว่าส่งข้อมูลทีละหลายๆบิตในเวลาเดียวกัน
คำตอบก็คือ ใช้การเปรียบเทียบ ที่เรียกว่า DMISP (Dhrystone Million instructions per second หรือ Dhrystone MIPS) เป็นการวัดความเร็วที่เทียบกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ DEC VAX 11/780 ที่ผลิตในปี 1970 โดยความเร็ว 1 DMIPS เท่ากับความเร็วของ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ DEC VAX 11/780 ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบความเร็วของการประมวณผลที่มีสถาปัตยากรรมที่แตกต่างกัน (32บิต vs 16บิต หรือ ARM vs PIC หรือ อื่นๆ) นิยมวัดเป็น DMIPS/MHz
แล้วเราใช้แค่ MIPS มาเปรียบเทียบแทน DMIPS ได้ไหม?
MIPS หรือ Million instructions per second แปลง่ายๆคือ ประมวลผลได้กี่ คำสั่งใน 1 วินาที เช่น สามารถรันคำสั่ง NOP ได้ 100ล้านครั้งภายใน 1 วินาที แสดงว่ามีความเร็ว 100 MIPS การนำเอา MIPS มาเปรียบเทียบระหว่าง หน่วยประมวลผลที่มีสถาปัตยกรรมเดียวกันนั้นสามารถเปรียบเทียบได้ แต่ถ้าหากหน่วยประมวลผลที่มีสถาปัตยกรรมคนละแบบไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะการคำนวณที่เหมือนกันอาจใช้คำสั่งที่ไม่เท่ากันได้เนื่องจากสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน