การติดตั้ง WordPress แบบง่ายๆ โดยใช้ Bitnami

ในบทความนี้จะมาสอนวิธีการติดตั้ง WordPress ลงบนเครื่อง PC หรือ Notebook ของเราแบบง่ายๆอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ Bitnami ซึ่ง Binami ก็จะเป็นโปรแกรมที่รวบรวม Package โปรแกรมต่างๆมัดรวมมาให้เราติดตั้งกันได้ง่ายๆเรียกว่าเป็น one stop service หากเราไปติดตั้งเองโดยไม่ได้ใช้ Bitnami ก็จะต้องลงโปรแกรมหลายๆตัว ยกตัวอย่างเช่น การลง WordPress ก็จะต้องลง PHP ลง MYSQL ลง WordPress ต่างๆ การใช้ Bitnami จะเข้ามาช่วยลดขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ให้ง่ายลง

วิธีการใช้งานและติดตั้ง Bitnami WordPress
ก่อนอื่นให้เราไปดาวโหลด Bitnami WordPress ได้ที่ https://bitnami.com/stack/wordpress จะเห็นว่ามีให้เราเลือกติดตั้ง WordPress ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น cloud หรือ Contaniners Docker ต่างๆ แต่ในตัวอย่างนี้เราจะลงแบบ On my computer Windows ให้เราเลือกแล้วกดดาวโหลดเลย

เลือกติดตั้ง Windows

กด file ที่เราดาวโหลดมาแล้วทำการติดตั้ง

ถ้าใครลง Anti virus ไว้ก็จะขึ้นแบบด้านล่างนี้ ให้กด Yes ได้เลย แล้วทำการกด Next ไปเรื่อยๆ

ลงให้หมดทุกอย่าง PhpMyAdmin ด้วย

พอถึงหน้านี้ให้เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับเว็บ WordPress ที่เราจะทำการจำลองขึ้นมาในเครื่องของเรา อย่าลืมกรอกแล้วจดเอาไว้ด้วยเดียวจะได้ใช้งานตอน Login

หน้านี้เป็นหน้าที่จะให้เว็บ WordPress ของเรารันอยู่บน Port ไหน ก็ให้เราเลือก Port ที่เราไม่ได้ใช้งานเช่น 81 82 และ SSL ก็ 444 ก็ได้

ตั้งชื่อ Blog WordPress ของเรา

ไม่ใช้งาน Email ก็กด Next ได้เลย

ไม่ใช้ Cloud ก็กด Next เลย

รอสักพักจนติดตั้งเสร็จ

เรียบร้อยกด Finish

Bitnami ก็จะเปิดหน้าเว็บขึ้นมาเป็น 127.0.0.1:Port ที่เราตั้ง ให้เรากด Access WordPress ได้เลย

ก็จะเห็นเว็บ WordPress ของเราแล้ว ซึ่งเราสามารถเอา Username Password ที่เราตั้งไว้เอาไป Login ได้ที่ 127.0.0.1:Port ที่เราตั้ง/wordpress/wp-admin ได้เลย

สำหรับวิธีเปิดหรือเช็คว่า WordPress ของเรายังทำงานอยู่หรือเปล่า ก็สามารถเข้าไปเช็คได้ที่ C:\Bitnami\wordpress-5.4.1-0 กดไปที่ manager-windows.exe (ตัวอย่างนี้ลง WordPress version 5.4.1)

ก็จะเห็นตัว Bitnami manager เราสามารถกดไปที่ Go to Application เพื่อเปิดเว็บของเรา หรือ เข้าแก้ไขฐานข้อมูลได้โดยการกด Open phpMyAdmin

เราสามารถดูสถานะของ Server ได้โดยการกดไปที่ Manage Servers สามารถ Start Stop Restart ได้ หรือจะเปลี่ยน Port ก็ได้โดยการกด Configure

เจอข้อความแบบนี้จะแก้ไขยังไง Your PHP installation appears to be missing the MySQL extension which is required by WordPress.

มีใครเจอข้อความแบบนี้บ้าง Your PHP installation appears to be missing the MySQL extension which is required by WordPress. พอเข้าไปในหน้า login ของ WordPress ก็เจอข้อความแบบนี้เลย login เข้าไปทำอะไรไม่ได้เลย

สาเหตุที่เกิด Error ข้อความแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า PHP ของเราไม่ได้เปิด Extension ที่เกียวกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ที่ชื่อว่า mysqli
แล้ววิธีเปิด PHP Extension mysqli ทำยังไงละ ในบทความนี้จะสอนการเปิด PHP Extension mysqli ใน cPanel ซึ่งสามารถทำตามได้ดังนี้

ให้เราไปที่ cPanel เลือก Select PHP Version

เลือกที่แถบ Extensions

เลือกติ๊กถูกที่ Extension mysqli

แล้วกลับมาที่แถบ My Domains เลือก Domain ที่เราใช้งานแล้วกด Use PHP Selector

แล้วลองเข้าไปที่หน้า Login ของ WordPress เราใหม่ก็จะเข้าได้ตามปกติแล้วละ

วิธีแก้ไขเมื่อ WordPress ขึ้นหน้า Maintenance ค้าง

บางคนอาจจะเจอปัญหาว่าหลังจากกด Update plugin หรือ update WordPress แล้วปรากฏว่าทำไมหน้าเว็บค้างไปนาน ไม่เสร็จสักที ไหนลองกด F5 refresh ใหม่ดูสิ ปรากฏว่าหน้าเว็บก็แสดงผลแบบนี้ Briefly Unavailable for Scheduled Maintenance in WordPress

คลิกไปที่ไหน หน้าไหนก็แสดงผลแบบนี้หมด ทำยังไงละทีนี้

วิธีแก้ไขสามารถทำได้ไม่ยาก ก็คือการที่ WordPress สร้างหน้าแสดงผล Maintenance ขึ้นมาให้ทุกหน้าของ WordPress redirect ไปที่หน้า Maintenance การแก้ไขก็คือเราต้องเข้าไปลบไฟล์ .maintenance โดยต้องเข้าไปที่ Host ของเราผ่านทาง FTP หากเข้าผ่านทาง File Manager ของ Cpanel ก็จะไม่เห็นเพราะเป็นการซ่อนไฟล์ (ไม่มีชื่อไฟล์ มีแต่นามสกุล ใน Linux นั้นหมายถึงการซ่อนไฟล์) เมื่อเข้ามาแล้วก็ทำการลบเลย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้งาน WordPress ได้ตามปกติแล้ว

ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ WordPress ค้างอยู่ใน Maintenance อาจจะเกิดจากการเชื่อมต่อกับ Server หลุดหรือค้างไป ส่วนวิธีป้องกันถ้าไม่อยากให้เป็นแบบนี้อีก ก็ให้เราพยายามอัพเดตพวก Plugin ทีละตัว หากยังเจอปัญหาอีกก็อาจจะต้อง Disable หรือ Uninstall Plugin ที่เป็นปัญหาตัวนั้นๆไป

วิธีแสดงไฟล์ pdf ในเว็บ WordPress

ถ้าเราอยากจะให้ไฟล์ Pdf แสดงผลในเว็บหรือ Blog WordPress ของเรา จะมีวิธีไหนบางนะ บทความนี้มีคำตอบ มาดูกัน

สำหรับการทำให้ไฟล์ Pdf ของเรามาแสดงผลหรือเปิดได้อยู่ในเว็บของเรา เราเรียกอีกแบบหนึ่งว่าคือการ Embed Pdf หรือการฝัง Pdf นั้นเอง โดยหลักๆแล้วใน WordPress เราสามารถทำได้ 2 วิธีการนั้นก็คือ

วิธีที่ 1 ลง WordPress Plugin Embed Pdf สำหรับวิธีนี้เราก็ต้องไปหา Plug-in สำหรับการ Embed Pdf มาลง สำหรับ Plug-in ที่แนะนำก็คือ PDF Embedder https://wordpress.org/plugins/pdf-embedder/ เพื่อนๆสามารถไปดาวโหลดมาทดลองใช้งานกันได้ สำหรับข้อดีของวิธีนี้ก็คือเราสามารถเอาไฟล์ของเราที่แนบอยู่ในเว็บไซต์ของเราเอามาแสดงผลได้เลย จะมีกี่ไฟล์หรือขนาดใหญ่แค่ไหนก็ได้(เท่าที่ Host เราจะเก็บได้) แต่ก็มีข้อเสียนั้นก็คือเราต้องติดตั้ง Plug-in แล้วก็ต้องเก็บไฟล์ไว้ใน Host ของเรา ถ้าใครมีไฟล์เยอะๆก็จะกินพื้นที่เก็บข้อมูล

วิธีที่ 2 ใช้ Google Drive วิธีนี้ก็จะเป็นการเอาไฟล์ Pdf ของเราไปเก็บใน Google Drive เพื่อทำการ Embed Pdf iframe เอาไปแปะที่เว็บเราได้เลย ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น WordPress นอกจากนี้การใช้วิธีนี้ยังไม่จำกัดเฉพาะไฟล์ Pdf เรายังสามารถ Embed ไฟล์ Office อื่นๆที่ Google Docs รองรับ ยกตัวอย่างเช่นไฟล์เอกสาร Word ไฟล์ Excel เป็นต้น

ตัวอย่าง Embed pdf จาก Google Drive

สำหรับวิธีการ Embed ไฟล์จาก Google Drive สามารถดูวิธีการทำได้ไม่ยากโดย

หลังจากเรา upload file เข้าไปใน Google drive ให้เราคลิกขวาแล้วกดที่ share

ให้เรากดไปที่ Advanced

เราก็จะได้ ลิงค์ที่เอาไว้เปิดไฟล์ใน Google doc ให้เราเอาไปเปิดใน browser

เมื่อเปิดขึ้นมาให้เรากดไปที่สัญลักษณ์ 3 จุด ที่ขวามือบน แล้วเลือก Embed Item

เราก็จะได้โด้ด iframe ซึ่งสามารถเอาไปแปะในเว็บไซต์ หรือ wordpress ของเราได้เลย

วิธีปิดหรือเปิด Module เช่น Stats ใน Jetpack

มีใครใช้ WordPress plugin Jetpack แล้วหาวิธีปิดหรือเปิด Module เช่น Stats ไม่เจอบ้าง ในบทความนี้จะมาสอนวิธีปิดหรือเปิด Stats ใน Jetpack นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถใช้กับ Module ตัวอื่นๆของ Jetpack ก็ได้เช่นกันนะ

ก่อนอื่นให้เราไปที่ Jetpack เลือก Jetpack Dashboard

เลื่อนลงมาด้านล่าง จะเห็นคำว่า Debug ให้คลิกเข้าไปที่ Debug

ตอนนี้เราจะมาอยู่ที่ Debugging Center ของ Jetpack เสร็จแล้วให้เราคลิก ไปที่ Access the full list of Jetpack modules available on your site.

คราวนี้เราก็จะเห็นที่เปิดปิด Activate Deactivate แต่ละModule ของ Jetpack แล้ว เราสามารถเลือกเปิดปิดได้เลยดังรูป

วิธีใส่สัญลักษณ์พิเศษต่างๆลงไปใน WordPress Post

เราสามารถใส่สัญลักษณ์พิเศษต่างๆลงไปใน WordPress ได้ โดยทำตามวิธีทำในบทความนี้ได้เลย
โดยวิธีทำการใส่สัญลักษณ์พิเศษต่างๆลงไปใน WordPress สามารถ ทำได้โดยไปที่ Add new post เพื่อสร้าง Post ใหม่ แล้วมองไปที่ขวามือบนของเรา จะเห็น ว่ามีโหมดมุมมองให้เลือก

ให้เราเลือก โหมด Visual

แล้วเลือก Toobar Toggle ด้านขวามือ

เราก็จะเห็น ปุ่มสัญลักษณ์ Ω Special character กดเข้าไป

ก็จะมีหน้าต่างให้เราเลือก ว่าเราจะแทรกสัญลักษณ์อะไรลงไปใน Post ของเรา

นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีก็คือสามารถก๊อปปี้สัญลักษณ์มาจากโปรแกรม Word ก็ได้เป็นอีกวิธีหนึ่ง

วิธีตรวจสอบว่าเว็บ WordPress ของเราใช้กับ PHP เวอร์ชั่นใหม่ๆได้หรือเปล่า

สำหรับใครที่ใช้ WordPress อยู่แล้วแล้วกำลังอยากจะเปลี่ยนมาใช้ WordPress กับ PHP7 ที่หลายๆคนบอกว่าเปลี่ยนมาใช้งานแล้วเร็วขึ้นมาก บางคนก็อาจจะกลัวว่าถ้าเปลี่ยนไปใช้ PHP7 แล้ว Plugin ของเรา หรือ Theme ของเรา จะสามารถใช้งานกับ PHP7 ได้ไหม เว็บจะพังไหม?
ในบทความนี้ก็จะมาสอนวิธีการตรวจสอบว่าเว็บ WordPress ของเรานั้น มี Plugin หรือ Theme ที่เข้ากันได้กับ PHP7 หรือเปล่า? หรือเวอร์ชั่นอื่นๆก็ได้นะ โดยเราจะตรวจสอบโดยใช้ Plugin ที่ชื่อว่า PHP Compatibility Checker สามารถไปดาวโหลดกันได้ที่ https://srd.wordpress.org/plugins/php-compatibility-checker

โดยวิธีใช้งานหลังจากติดตั้ง Plugin PHP Compatibility Checker แล้ว ก็ให้เราไปที่ Tools แล้วเลือก PHP Compatibility

เสร็จแล้วทำการเลือกรุ่นของ PHP ที่จะตรวจสอบ และ เลือกว่าจะตรวจสอบกับ Plugin และ Theme ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือว่า จะตรวจสอบทั้งหมดเลย ในภาพนี้เลือกเฉพาะที่ใช้งานอยู่นะ แล้วกดปุ่ม Scan site ได้เลย

รอสักพัก Plugin จะแสดงผลออกมาว่าตัวไหนผ่าน ไม่ผ่านบ้าง จากรูปนี้ มีตัวหนึ่ง Cloudflare ไม่ผ่าน เราสามารถกดดูรายละเอียดได้ที่ Toggle detail ถ้าผ่านหมดก็สามารถอัพเกรด PHP ไปใช้กับ PHP 7 หรือเวอร์ชั่นที่เราต้องการใช้งานได้โดยไม่ต้องกังวล

ลง wordpress ใหม่แล้วเจอ Error The file ‘wp-config.php’ already exists ทำไงดี

wordpress-error-the-file-wp-config-php-already-exists

พอลงและติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อยแล้วเจอ Error ว่า
“The file ‘wp-config.php’ already exists. If you need to reset any of the configuration items in this file, please delete it first. You may try installing now.”

ถ้าใครเจอข้อความนี้ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขไฟล์หรือลบไฟล์’wp-config.php’

วิธีแก้ไขก็คือ ให้เราลองลบ Cache ไฟล์ของ Browser ของเรา
ถ้าใครใช้ chrome ก็ให้ไปที่ More Tool > Clear browsing data เลือกเลือก Clear Cached images and files แค่นี้พอเข้ามาที่ WordPress ใหม่อีกทีก็จะใช้งานได้ปกติแล้วละ

วิธีตรวจสอบว่าเว็บนั้นลง WordPress plugin อะไรอยู่บ้างนะ

มีใครสงสัยกันไหมว่า มันมีวิธีเช็คไหมว่าเว็บไซต์ที่เป็น WordPress นั้นใช้ Plugin อะไรกันอยู่บ้างนะตอนนี้

คำตอบก็คือมีจ้า

วิธีทำก็สามารถทำได้ง่ายๆ นั้นก็คือ กดค้นหาผ่านเว็บที่มีชื่อว่า http://wppluginchecker.earthpeople.se/

check-wordpress-plugin-1

โดยเจ้าเว็บที่ว่านี้สามารถตรวจสอบเจอ plugin WordPress ยอดนิยมได้วกว่า 50 plugin กันเลยทีเดียว
ว่าแล้วก็นำมาลองกับเว็บตัวเองเลยละกัน
พิมพ์ลงไปแล้วก็กด Check site รอสักครู่ก็จะบอกว่าเว็บไซท์นั้นเป็น WordPress หรือเปล่า
check-wordpress-plugin-2

หลังจากเช็คเสร็จ จากตัวอย่างก็เจอ 5 plugin
check-wordpress-plugin-3

ลอง login เข้าไปดูสิว่าถูกต้องไหม ปรากฏว่าถูกต้องทั้ง 5 plugin แต่ขาดไป 1 plugin ก็คือ SyntaxHighlighter Evolved
check-wordpress-plugin-4

ก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียวตรวจสอบได้ถูกต้อง แต่อาจจะหา Plugin ได้ไม่ครบทั้งหมด และนี้ก็เป็นวิธีง่ายๆสำหรับตรวจสอบเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ว่า เขาลง plugin อะไรไว้บ้าง