วิธีใช้งาน Ubuntu ใน vmware ผ่านทาง ssh

ในบทความนี้จะมาสอนวิธีการใช้งาน Vmware ที่ลง Ubuntu ไว้ผ่านทาง Secure Shell หรือ SSH มาดูวิธีทำกันเลยดีกว่า

ให้เราเปิด Terminal ของ Ubuntu ใน Vmware ขึ้นมา

ก่อนอื่นให้เรา update Ubuntu ก่อน โดยพิมพ์ command ว่า sudo apt-get update

แล้วทำการติดตั้ง openssh-server โดยการพิมพ์ command ว่า sudo apt-get install openssh-server

ให้เราไปที่ Player >> Manage แล้วเลือก Virtual Machine Setting

ในแถบ Hardware ให้เราเลือกไปที่ Network Adapter แล้วเลือก Network connection ให้เป็น NAT แล้วกด OK

กลับมาที่ ubutu ใน vmware ของเรา ให้ทำการ reboot Ubuntu ของเรา

หลังจาก reboot เสร็จให้เราเปิด Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง ifconfig แล้วมองหา IP จากตัวอย่างจะเห็นว่า เป็น 192.168.188.131

กลับมาที่ windows ของเรา ให้เราเปิด command line แล้ว ทดลอง ping ip ที่เราได้มาจากขั้นตอนเมื่อกี้ จะได้ว่า ping 192.168.188.131 -t จะเห็นว่ามีการ reply มาจาก ip นั้นๆก็ถือว่าใช้งานได้

ทำการเปิด โปรแกรม PuTTy ขึ้นมาแล้วใส่ IP ลงไป

จะเห็นว่าเราสามารถ login เข้าไปในเครื่องที่เป็น Vmware ของเราผ่านทาง ssh โดยโปรแกรมใช้โปรแกรม PuTTy ได้แล้ว

วิธีติดตั้ง VMware Tools บน Ubuntu

สำหรับบทความนี้เป็นการลง ลง VMware Tools ของ Ubuntu นะ เพื่อให้เราสามารถลากไฟล์ ก๊อปปี้ไฟล์ระหว่างเครื่องหลักของเรา กับ Vmware ที่เราสร้างขึ้น

วิธีดาวโหลดก็จะเหมือนกับ Windows เลย

เลือก Player > Manage > Update VMware Tools หรือ Install Vmware Tools.

ใน Virtual vmware ของเรา ก็จะมี CD ROM Vmware Tools ขึ้นมา ให้เราแตกไฟล์ VMwareTools-10.0.10-4301679.tar.gz จากรูป (แล้ตัวเลขอาจะไม่เหมือนนะ ขึ้นอยู่กับ เวอร์ชั่น ที่Vmware ดาวโหลดมาให้) เอาไปวางไว้ที่ Desktop

ให่เปิดโปรแกรม Terminal ขึ้นมาแล้ว command line เพื่อให้เราเข้าไปยัง Folder vmware ที่อยู่ที่ Desktop
$ cd Desktop/vmware-tools-distrib/

เสร็จแล้ว ทำการ สั่งรันโปรแกรมเพื่อ Install โดยเราจะใช้สิทธิ admin ให้เข้าด้วย sudo
$ sudo ./vmware-install.pl

โปรแกรมจะแนะนำให้เราลง open vm tools แทน แต่เราไม่ลงอะนะ ก็พิมพ์ตอบไปว่า yes เราจะลง vmware tool นั้นและ

ทีนี้โปรแกรม จะถามเราเกี่ยวกับ Folder ที่จะให้ลงโปรแกรมทั้งหลาย ให้เราสังเกตว่าจะมี เคื่องหมาย [ … ] ซึ่งหมายถึงเป็นค่าตั้งต้น default ให้เราพิมพ์ตามได้เลย พอพิมพ์เสร็จแล้วก็กด Enter ซึ่งจะมีถามอยู่หลายครั้ง ตามรูป

จนในที่สุดเราก็จะเจอหน้าแบบรูปด้านล่างนี้แสดงว่าเราได้ติดตั้ง Vmware tool เสร็จเรียบร้อย ให้เราทำการ Restart Vmware ดู ก็จะสามารถลากไฟล์ ก๊อปปี้ไฟล์ระหว่างเครื่องหลักของเรา กับ Vmware Ubuntu ที่เราสร้างขึ้นได้แล้วละ

วิธีแก้ error SMBus Host Controller not enable! ใน Vmware

สำหรับใครที่ลง Ubuntu ลงใน Vmware อาจจะเจอ error “SMBus Host Controller not enable!” สามารถทำตามวิธีแก้ไขได้ในบทความนี้ได้เลย

ให้เราไปแก้ไขไฟล์ blacklists.conf โดยใช้คำสั่ง $ sudo nano /etc/modprobe.d/blacklist.conf

ให้เราทำการเพิ่ม ข้อมความนี้ “blacklist i2c-piix4” ลงไปด้านล่างสุดของไฟล์ blacklist.conf เสร็จแล้วอย่าลืม Save ด้วย Ctrl+x

แล้วทำการ restart เครื่องโดยใช้คำสั่ง $reboot

หลังจากเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ error “SMBus Host Controller not enable!” ก็จะถูกแก้ไขและไม่แสดงขึ้นมาอีก

การสร้าง New Virtual ใน VMware

วิธีการสร้าง  New Virtual ใน VMware หรือ สร้างคอมใหม่ขึ้นมาในเครื่องของเรา นั้นไม่ยากเลย ถ้าใครไม่ทราบลองมาทำตามอย่างวิธีนี้ได้เลยไม่ยากจ้า

(more…)

วิธีติดตั้ง VMware Tools บน Windows

หลังจากที่เราลง VMware แล้ว ก็ต้องลง VMware Tools กันหน่อย เพื่อให้เราสามารถลากไฟล์ ก๊อปปี้ไฟล์ระหว่างเครื่องหลักของเรา กับ Vmware ที่เราสร้างขึ้น สำหรับบทความนี้เป็นการลงของ Windows นะ

วิธีทำนั้นง่ายๆเลย ทำตามรูปด้านล่างได้เลยนะ

 

เลือก Player > Manage > Update VMware Tools

(more…)

สอนติดตั้ง VMware Workstation Player

Vmware นั้นเป็นโปรแกรมจำลองเครื่อง เสมือนว่าเรามี อีกเครื่องนึง โดยแบ่งCPU และ Ram จากเครื่องหลักเราไปใช้งาน Vmware ที่จริงไม่ฟรีนะ ต้องเสียเงินซื้อ แต่ว่าถ้าเราไม่ได้ใช้เพื่อการพานิชย์ ก็มาใช้แบบฟรีๆได้ มาดูวิธีการติดตั้งกันดีกว่า

ก่อนอื่นดาวน์โหลดโปรแกรม ได้ที่ นี้เลย https://my.vmware.com/web/vmware/downloads แล้วเลื่อนมาด้านล่างหา Vmware เวอร์ชั่น VMware Workstation Player ตัวนี้เราสามารถใช้ฟรีได้ ไม่เสียตังเลย อิอิ

(more…)