ข้อมูลอุณหภูมิและปริมาณฝนตกของแต่ละประเทศทั่วโลกย้อนหลัง

เราสามารถหาข้อมูล อุณหภูมิ ปริมาณฝนตก ของแต่ละประเทศย้อนหลังของแต่ละประเทศทั่วโลกได้จากข้อมูลของทาง worldbank ซึ่งมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1901 จนถึงปัจจุบัน (มีข้อมูลย้อนหลังมากกว่า120ปี) โดยข้อมูลจะมีการอัพเดตใหม่ทุกๆปี

ตัวอย่างข้อมูลของประเทศไทย
Mean Temperature ข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละเดือนของประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 1901ถึง 2020 โดยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.42 องศาเซลเซียส


Maximum Temperature ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุดของแต่ละเดือนของประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 1901ถึง 2020 โดยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 31.72 องศาเซลเซียส


Minimum Temperature ข้อมูลอุณหภูมิต่ำสุดของแต่ละเดือนของประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 1901ถึง 2020 โดยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21.18 องศาเซลเซียส


Rain fall ข้อมูลปริมาณฝนตกของแต่ละเดือนของประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่ปี 1901ถึง 2020 โดยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 128.21 มิลลิเมตร

ข้อมูลที่นำเอามาพล็อตกราฟจากที่นี้ https://drive.google.com/drive/folders/13yv8UU6AvLtRUSiAGswUTaaYlbdKU28G?usp=sharing


สามารถเข้าไป Download ข้อมูลของแต่ละประเทศล่าสุดโดยข้อมูลเป็นไฟล์ csv และข้อมูลการคาดการณ์ Projection ของทาง worldbank ได้ที่ https://climateknowledgeportal.worldbank.org/download-data


หมายเหตุเกณฑ์การวัด
เกณฑ์อากาศร้อน ใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อน
1. อากาศร้อน(Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส
2. อากาศร้อนจัด(Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป

เกณฑ์อากาศหนาว ใช้อุณหภูมิต่ำสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูหนาว
1. อากาศเย็น(Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
2. อากาศหนาว(Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
3. อากาศหนาวจัด(Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป

เกณฑ์ปริมาณฝน
1. ฝนเล็กน้อย(Light Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 – 10.0 มิลลิเมตร
2. ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 – 35.0 มิลลิเมตร
3. ฝนหนัก(Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 – 90.0 มิลลิเมตร
4. ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป

ข้อมูลเกณฑ์การวัดจากกรมอุตุนิยมวิทยา

หลักการ Visualization กับ Data น่ารู้

คำว่า Visualization นั้นถ้าแปลกันตรงๆก็จะได้ความหมายว่า การทำให้มองเห็น การแสดง และการนึกภาพ ซึ่งแน่นอนว่าภาพเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจบางอย่างได้ง่ายขึ้นและยังจดจำได้ดีกว่าตัวอักษร ดังนั้นการเรียนรู้เรื่อง Visualization จึงเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ เพราะหากเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จะช่วยให้การนำเสนองานของเราได้ดีขึ้น คนดูก็จะเข้าใจรายละเอียดได้มากขึ้นเช่นกัน โดยหยิบยกหลักการที่สำคัญมาฝากดังนี้

  • ทำไมต้องใช้ Visualization ? เพราะ จะทำให้เกิดกระบวนการ 3 ประการ
    1. Effective : ทำให้เห็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยการนำเสนอปกติ และสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
    2. Convincing : ชักจูงดึงดูดคนดูได้ดี
    3. Insightful : ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ข้อมูลตัวเลขทำไม่ได้
  • Visualization Variable จะมีด้วยกัน 4 แบบ คือ
    1. Length เป็นแบบความยาว อาจจะเป็นเส้นก็ได้
    2. Area เป็นพื้นที่แสดงภาพที่มีพื้นที่ปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไป
    3. Brightness เป็นการแสดงความเข้มอ่อนของสีเดียวเท่านั้น
    4. Hue เป็นการแสดงที่หลากสีสัน
  • แนวทางการนำเสนอจะมี 2 รูปแบบ ได้แก่
    1. Author-Driven โดยเป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ผู้เขียนเป็นคนขับเคลื่อน ซึ่งมักจะนำเสนอเป็นเส้นตรง (Linear) รวดเร็ว (Fast) และ ข้อความหรือสิ่งที่จะสื่อค่อนข้างชัดเจน (Clear Messages)
    2. Viewer-Driven เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ผู้มองหรือผู้ดูเป็นผู้ขับเคลื่อนและค้นหาเองในภาพ โดยการนำเสนอแบบนี้จะกระจายไม่เป็นเส้นตรง (Non-Linear) ความเร็วก็อยู่ที่ผู้มอง (Own Speed) และสิ่งที่สื่อสารจะเป็นไปในลักษณะการค้นหาที่ส่วนตัว ผู้มองสามารถดูหรือค้นหาข้อมูลจากภาพได้เองจากจุดที่ตนเองสนใจเท่านั้น (Exploratory / Personal)

หากใครสนใจอยากเรียนรู้ในรายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://space.cbs.chula.ac.th/course/129/item/1706041/ ซึ่งเป็นเรื่องราว Data Visualization สอนโดย อาจารย์ ดร. ภูริพันธุ์ รุจิขจร ( Course Overview : Data Visualization คือ การแสดงข้อมูลเป็นภาพ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่ายขึ้น วิชานี้ จะแนะนำตั้งแต่ความสำคัญของ Data Visualization ตลอดจนการนำแสดงข้อมูลที่ดี และการใช้ Data เพื่อทำ Storytelling)