วิธีแก้ไขเมื่อ WordPress ขึ้นหน้า Maintenance ค้าง

บางคนอาจจะเจอปัญหาว่าหลังจากกด Update plugin หรือ update WordPress แล้วปรากฏว่าทำไมหน้าเว็บค้างไปนาน ไม่เสร็จสักที ไหนลองกด F5 refresh ใหม่ดูสิ ปรากฏว่าหน้าเว็บก็แสดงผลแบบนี้ Briefly Unavailable for Scheduled Maintenance in WordPress

คลิกไปที่ไหน หน้าไหนก็แสดงผลแบบนี้หมด ทำยังไงละทีนี้

วิธีแก้ไขสามารถทำได้ไม่ยาก ก็คือการที่ WordPress สร้างหน้าแสดงผล Maintenance ขึ้นมาให้ทุกหน้าของ WordPress redirect ไปที่หน้า Maintenance การแก้ไขก็คือเราต้องเข้าไปลบไฟล์ .maintenance โดยต้องเข้าไปที่ Host ของเราผ่านทาง FTP หากเข้าผ่านทาง File Manager ของ Cpanel ก็จะไม่เห็นเพราะเป็นการซ่อนไฟล์ (ไม่มีชื่อไฟล์ มีแต่นามสกุล ใน Linux นั้นหมายถึงการซ่อนไฟล์) เมื่อเข้ามาแล้วก็ทำการลบเลย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้งาน WordPress ได้ตามปกติแล้ว

ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ WordPress ค้างอยู่ใน Maintenance อาจจะเกิดจากการเชื่อมต่อกับ Server หลุดหรือค้างไป ส่วนวิธีป้องกันถ้าไม่อยากให้เป็นแบบนี้อีก ก็ให้เราพยายามอัพเดตพวก Plugin ทีละตัว หากยังเจอปัญหาอีกก็อาจจะต้อง Disable หรือ Uninstall Plugin ที่เป็นปัญหาตัวนั้นๆไป

วิธีปิดหรือเปิด Module เช่น Stats ใน Jetpack

มีใครใช้ WordPress plugin Jetpack แล้วหาวิธีปิดหรือเปิด Module เช่น Stats ไม่เจอบ้าง ในบทความนี้จะมาสอนวิธีปิดหรือเปิด Stats ใน Jetpack นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถใช้กับ Module ตัวอื่นๆของ Jetpack ก็ได้เช่นกันนะ

ก่อนอื่นให้เราไปที่ Jetpack เลือก Jetpack Dashboard

เลื่อนลงมาด้านล่าง จะเห็นคำว่า Debug ให้คลิกเข้าไปที่ Debug

ตอนนี้เราจะมาอยู่ที่ Debugging Center ของ Jetpack เสร็จแล้วให้เราคลิก ไปที่ Access the full list of Jetpack modules available on your site.

คราวนี้เราก็จะเห็นที่เปิดปิด Activate Deactivate แต่ละModule ของ Jetpack แล้ว เราสามารถเลือกเปิดปิดได้เลยดังรูป

วิธีตรวจสอบว่าเว็บ WordPress ของเราใช้กับ PHP เวอร์ชั่นใหม่ๆได้หรือเปล่า

สำหรับใครที่ใช้ WordPress อยู่แล้วแล้วกำลังอยากจะเปลี่ยนมาใช้ WordPress กับ PHP7 ที่หลายๆคนบอกว่าเปลี่ยนมาใช้งานแล้วเร็วขึ้นมาก บางคนก็อาจจะกลัวว่าถ้าเปลี่ยนไปใช้ PHP7 แล้ว Plugin ของเรา หรือ Theme ของเรา จะสามารถใช้งานกับ PHP7 ได้ไหม เว็บจะพังไหม?
ในบทความนี้ก็จะมาสอนวิธีการตรวจสอบว่าเว็บ WordPress ของเรานั้น มี Plugin หรือ Theme ที่เข้ากันได้กับ PHP7 หรือเปล่า? หรือเวอร์ชั่นอื่นๆก็ได้นะ โดยเราจะตรวจสอบโดยใช้ Plugin ที่ชื่อว่า PHP Compatibility Checker สามารถไปดาวโหลดกันได้ที่ https://srd.wordpress.org/plugins/php-compatibility-checker

โดยวิธีใช้งานหลังจากติดตั้ง Plugin PHP Compatibility Checker แล้ว ก็ให้เราไปที่ Tools แล้วเลือก PHP Compatibility

เสร็จแล้วทำการเลือกรุ่นของ PHP ที่จะตรวจสอบ และ เลือกว่าจะตรวจสอบกับ Plugin และ Theme ที่กำลังใช้งานอยู่ หรือว่า จะตรวจสอบทั้งหมดเลย ในภาพนี้เลือกเฉพาะที่ใช้งานอยู่นะ แล้วกดปุ่ม Scan site ได้เลย

รอสักพัก Plugin จะแสดงผลออกมาว่าตัวไหนผ่าน ไม่ผ่านบ้าง จากรูปนี้ มีตัวหนึ่ง Cloudflare ไม่ผ่าน เราสามารถกดดูรายละเอียดได้ที่ Toggle detail ถ้าผ่านหมดก็สามารถอัพเกรด PHP ไปใช้กับ PHP 7 หรือเวอร์ชั่นที่เราต้องการใช้งานได้โดยไม่ต้องกังวล

วิธีตรวจสอบว่าเว็บนั้นลง WordPress plugin อะไรอยู่บ้างนะ

มีใครสงสัยกันไหมว่า มันมีวิธีเช็คไหมว่าเว็บไซต์ที่เป็น WordPress นั้นใช้ Plugin อะไรกันอยู่บ้างนะตอนนี้

คำตอบก็คือมีจ้า

วิธีทำก็สามารถทำได้ง่ายๆ นั้นก็คือ กดค้นหาผ่านเว็บที่มีชื่อว่า http://wppluginchecker.earthpeople.se/

check-wordpress-plugin-1

โดยเจ้าเว็บที่ว่านี้สามารถตรวจสอบเจอ plugin WordPress ยอดนิยมได้วกว่า 50 plugin กันเลยทีเดียว
ว่าแล้วก็นำมาลองกับเว็บตัวเองเลยละกัน
พิมพ์ลงไปแล้วก็กด Check site รอสักครู่ก็จะบอกว่าเว็บไซท์นั้นเป็น WordPress หรือเปล่า
check-wordpress-plugin-2

หลังจากเช็คเสร็จ จากตัวอย่างก็เจอ 5 plugin
check-wordpress-plugin-3

ลอง login เข้าไปดูสิว่าถูกต้องไหม ปรากฏว่าถูกต้องทั้ง 5 plugin แต่ขาดไป 1 plugin ก็คือ SyntaxHighlighter Evolved
check-wordpress-plugin-4

ก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียวตรวจสอบได้ถูกต้อง แต่อาจจะหา Plugin ได้ไม่ครบทั้งหมด และนี้ก็เป็นวิธีง่ายๆสำหรับตรวจสอบเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ว่า เขาลง plugin อะไรไว้บ้าง

สุดยอด WordPress Plugin ย่อรูปอัตโนมัตื

มีใครบางไหมที่ขี้เกียจย่อรูปภาพก่อน อัพขึ้นไปที่ Blog ของเราเอง บ้าง จะไม่ย่อรูปภาพเลยก็ไม่ได้ ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ทำให้อัพได้ช้า+โฮสพื้นที่ก็จะเต็ม
ก็เลยเป็นที่มาของการหา Plugin ที่ทำการย่อรูปภาพแบบอัตโนมัติ ก่อนที่จะอัพโหลดรูปขึ้นโฮส
ซึ่ง Plugin ส่วนใหญ่จะ จะเป็น Plugin ที่ย่อรูปและบีบอัดไฟล์หลังจากอีพโหลดรูปไปแล้ว (มันไม่ใช่อะ)

ซึ่ง Plugin ที่เราอยากได้นั้นก็คือ imsanity นั้นเอง

โดย Plugin ตัวนี้จะทำการ resize รูป ตอนที่ เรากำลัง upload รูปลง Blog เรานั้นเอง

imsanity-plugin
https://wordpress.org/plugins/imsanity/

ก่อนทีตัว imsanity Plugin จะทำการย่อรูปให้เรา เราก็ต้องมา ตั้งค่าก่อนใช้งานกันก่อน ในส่วนของการ Settingสามารถเข้ามา Setting ได้จากที่ Setting -> imsanity
ก็จะเป็นดังภาพ

insanity-setting-normal-ok

ความหมายของการตั้งค่าแต่ละอัน

Images uploaded within a Page/Post จะย่อรูปที่เรา upload ในหน้า Page กับ Post (หน้าที่เราเขียน Blog, Posts->Add new หรือ Pages -> add new นั้นเอง)

Images uploaded directly to the Media Library ก็คือจะย่อในหน้าที่ media -> add new

Images uploaded elsewhere (Theme headers, backgrounds, logos, etc) ย่อในส่วนของธีม (ตัวนี้ไม่เคยใช้งานเหมือนกัน)

JPG image quality การบีบอัดคุณภาพของไฟล์ ซึ่งเป็นไฟล์ JPG เท่านั้น
ค่า100 คือไม่ลดความละเอียด แบบเดิมๆนั้นเอง
0 ลดคุณภาพสูงสุด (ทำให้คุณภาพรูปแย่ลงมากๆ)
แนะนำให้ใช้ค่าแค่ 90 ก็เพียงพอแล้ว

Convert BMP To JPG แปลง ไฟล์ bmp เป็น JPG เพื่อที่จะใช้ feature การบีบอัดคุณภาพเพื่อที่จะใช้กับไฟล์ BMP ได้

Convert PNG To JPG แปลง ไฟล์ bmp เป็น JPG เพื่อที่จะใช้ feature การบีบอัดคุณภาพเพื่อที่จะใช้กับไฟล์ PNG ได้

หลังจากตั้งค่าแล้วกด Save change แล้วก็ทดลองใช้งานกันได้ ก็จะเห็นว่าเวลาเราอัพไฟล์รูปที่มีความละเอียดสูงๆ มีขนาดใหญ่เกินค่าที่เราตั้งไว้ ไฟล์รูปนั้นก็จะถูกย่อขนาดลงมาโดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้ imsanity ยังสามารถย่อรูปที่เราได้อัพโหลดไปเรียบร้อยแล้วก่อนหน้านี้ทำการย่อความละเอียดของรูปทั้งหมดได้เพียงคลิกเดียว

insanity-setting-bulk-resize-ok