สิทธิบัตร (Patent) คืออะไร

สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (invention)หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่ภูหมายกำหนด เป็นสิทธิพิศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม และเน้นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะของการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดค้นขึ้นโดยง่าย เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ,ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty ร่วมมือด้านสิทธิบัตร เป็นความตกลงระหว่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดภาระ ขั้นตอน และ ค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้รับคำขอที่ต้องการขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ

ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตร ประเทศไทยสมัครข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142

ที่มาจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา

50 อันดับบริษัทที่จดสิทธิบัตรมากที่สุด ในปี 2018

รายชื่อ 50 อันดับบริษัทที่จดสิทธิบัตรมากที่สุด ในปี 2018

อันดับบริษัทประเทศจำนวนสิทธิบัตรที่จดในปี 2018
1International Business Machines Corpอเมริกา9,100
2Samsung Electronics Co Ltdเกาหลีใต้5,850
3Canon Incญี่ปุ่น3,056
4Intel Corpอเมริกา2,735
5LG Electronics Incเกาหลีใต้2,474
6Taiwan Semiconductor Manufacturing Co (TSMC) Ltdใต้หวัน2,465
7Microsoft Technology Licensing LLCอเมริกา2,353
8Qualcomm Incอเมริกา2,300
9Apple Incอเมริกา2,160
10Ford Global Technologies LLCอเมริกา2,123
11Google LLCอเมริกา2,070
12Amazon Technologies Incอเมริกา2,035
13Toyota Motor Corpญี่ปุ่น1,959
14Samsung Display Co Ltdเกาหลีใต้1,948
15Sony Corpญี่ปุ่น1,688
16Huawei Technologies Co Ltdจีน1,680
17BOE Technology Group Co Ltdอเมริกา1,634
18General Electric Coอเมริกา1,597
19Hyundai Motor Coเกาหลีใต้1,369
20Telefonaktiebolaget LM Ericsson ABสวีเดน1,353
21Seiko Epson Corpญี่ปุ่น1,285
22Panasonic Intellectual Property Management Co Ltdญี่ปุ่น1,254
23Boeing Coอเมริกา1,227
24Robert Bosch GmbHเยอรมัน1,136
25Mitsubishi Electric Corpญี่ปุ่น1,106
26Toshiba Corpญี่ปุ่น1,104
27GM Global Technology Operations LLCอเมริกา1,046
28Ricoh Co Ltdญี่ปุ่น1,043
29Fujitsu Ltdญี่ปุ่น1,038
30United Technologies Corpอเมริกา1,011
31Denso Corpญี่ปุ่น1,003
32AT&T Intellectual Property I LPอเมริกา985
33Honda Motor Co Ltdญี่ปุ่น926
34Micron Technology Incอเมริกา924
35Semiconductor Energy Laboratory Co Ltdญี่ปุ่น870
36Siemens AGเยอรมัน870
37Cisco Technology Incอเมริกา848
38Koninklijke Philips NVเนเธอร์แลนด์844
39Halliburton Energy Services Incอเมริกา807
40EMC IP Holding Co LLCอเมริกา801
41SK Hynix Incเกาหลีใต้801
42Texas Instruments Incอเมริกา785
43Honeywell International Incอเมริกา749
44Murata Manufacturing Co Ltdญี่ปุ่น743
45NEC Corpญี่ปุ่น715
46Toshiba Memory Corpญี่ปุ่น700
47Oracle International Corpอเมริกา685
48LG Display Co Ltdเกาหลีใต้681
49Dell Products LPอเมริกา668
50Fujifilm Corpญี่ปุ่น658

 

 

ประเทศจำนวนสิทธิบัตร
เกาหลีใต้6
จีน1
ญี่ปุ่น16
ใต้หวัน1
เนเธอร์แลนด์1
เยอรมัน2
สวีเดน1
อเมริกา21

 

ที่มาจาก ificlaims

มาทำความเข้าใจกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) กันเถอะ

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)  หรือบางคนอาจจะนิยมเรียกสั้นๆว่า IP นั้นหมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก เช่น สินค้าต่าง ๆ การบริการ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

หลักการของทรัพย์สินทางปัญญามีดังนี้

  • ทรัพย์สินทางปัญญาคือ สิทธิ (Rights) ใช้ โอนถ่าย และอนุญาตให้ใช้ โดยวิธีการทำสัญญาถ่ายโอนสิทธิ โดยมทำนิติกรรมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการคุ้มครองเฉพาะประเทศที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น (Territorial)
  • ทรัพย์สินทางปัญญาคือ Private rights สิทธิส่วนบุคคล ไม่ใช่Public rights
  • ทรัพย์สินทางปัญญาก่อให้เกิดเงินและผลประโยชน์ (money and benefit)

ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual Property) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และ 2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)

1.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาหรือคิดค้นขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า โดยรวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

1.1. สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

1.1.1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

1.1.2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

1.1.3. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย

 
1.2. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)

1.3. เครื่องหมายการค้า (Trademark)

1.4. ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

1.5. ชื่อทางการค้า (Trade Name)

1.6. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

2. ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบทั้งโดยจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

สถานที่และวิธีการยื่นขอจดทะเบียน

สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  (www.ipthailand.org) หรือ ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ที่ตนเองมีภูมิลำเนาอยู่

เรียบเรียงจาก

http://www.ippat.org