มาทำความเข้าใจและรู้จักกับ ตัวเก็บประจุ Capacitor

สำหรับใครที่สงสัยและอยากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ ว่าโครงสร้างและหลักการการทำงานของตัวเก็บประจุ เป็นอย่างไร สามารถศึกษาได้จากบทความนี้ได้เลย
Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำมาจาก 2 แผ่นตัวนำ(parallel conductive plates) คั้นกลางด้วย Dielectric ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวน ประกอบเข้าด้วยกัน เหมือนแซนวิช ดังรูป

สำหรับ ฉนวน Dielectric สามารถทำมาจากวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าทั้งหลายเช่น พลาสติก  ยาง เซรามิค แก้ว
ฉนวนแต่ละชนิดซึงเราสามารถวัดค่าความเป็นฉนวนได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวัสดุนั้นๆ

โดย
C ขนาดของตัวเก็บประจุ หน่วยคือ Farad
A พื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวนำ
d ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำ

εr  dielectric’s relative permittivity เป็นค่าคงที่ของฉนวน ขึ้นอยู่กับชนิดของฉนวนนั้นๆเช่น

เราจะเห็นได้ว่า ยิ่ง εr หรือ A มีค่ามากก็จะทำให้สามารถเพิ่มความจุของตัวเก็บประจุทำให้มีค่าความจุมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหาก มีระยะห่าง d ระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำมากก็จะทำให้ตัวเก็บประจุมีค่าน้อย

หลักการทำงานของ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ
ก็คือ เมื่อนำตัวเก็บประจุไปต่อเข้ากับวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟครบวงจร  เราจะสังเกตได้ว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ (มองเป็น Open Circuit) ก็เพราะว่าในตัวเก็บประจุมี ฉนวนกั้นอยู่
ในขณะเดียวกันก็เกิดประจุไฟฟ้าที่ไหลข้ามฉนวนไม่ได้ก็ติดอยู่ที่แผนตัวนำ ทำให้ด้านนั้นมีประจุไฟฟ้าลบ(Electron)เยอะ  ส่วนแผนตัวนำด้านตรงข้ามก็กลายเป็นประจุไฟฟ้าด้านบวกเพราะ Electron ไหลไปอีกด้านหนึ่งจำนวนมาก
การที่มีประจุติดอยู่ที่แผนตัวนำของ ตัวเก็บประจุ ได้ก็เพราะว่า แต่ละด้านมีประจุไฟฟ้าที่เป็นขั้วตรงกันข้ามกันทำให้เกิดสนามไฟฟ้า electric field ดึงดูดซึ่งกันและกัน (+ และ – ดึงดูดกัน) ซึ่งทำให้ตัวเก็บประจุสามารถเก็บพลังงานศักย์ หรือ แรงดัน (Voltage) ไว้ได้

เป็นยังไงกันบ้าง คราวนี้ก็เข้าใจ หลักการทำงานและรู้ถึงโครงสร้างของ Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ กันแล้วใช่ไหม สำหรับการใช้งาน Capacitor หรือ ตัวเก็บประจุ ก็ขอให้ติดตามสามารถอ่านได้ในบทความถัดไปได้เลย

ตัวเก็บประจุ Capacitor ชนิดต่างๆ

ตัวเก็บประจุ (Capacitor) นั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ซึ่งการพิจารณาตัวเก็บประจุเพื่อนำไปใช้งานนั้นสามารถพิจารณาจากคุณสมบัติของตัวเก็บประจุได้ดังนี้

ขนาดของตัวเก็บประจุและค่าตัวเก็บประจุ  ต้องเลือกชนิดชองตัวเก็บประจุให้เหมาะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่เมื่อประกอบลงบอร์ด PCB ได้

แรงดันที่ตัวเก็บประจุทนได้  ควรจะเพือแรงดันจากการออกแบบไว้ด้วย (Safety margin)

กระแส leakage กระแส leakage ทำให้ตัวเก็บประจุสะสมพลังงานได้ช้าและยังมีการรั่วไหลออกไปด้วย

ESR (Equivalent series resistance)  ESR หากมีค่ามากจะทำให้เกิดความร้อนสุญเสียพลังงาน (โดยทั่วไปอยู่ที่ 0.01 ohm)

ความคลาดเคลื่อน tolerance  ค่าของตัวเก็บประจุที่ผลิตออกมายอมต้องมีความคลาดเคลื่อนบ้าง มีตั้งแต่ +-1 % ไปจนถึง 20%

ราคา อย่าลืมตัวนี้ละสำคัญมากๆ

เราสามารถแบ่งประเภทของตัวเก็บประจุชนิดต่างๆได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. Fixed Capacitors ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าไม่ได้

1.1 Mica capacitors ประกอบด้วยวัสดุฉนวนที่เรียกว่า mica หรือ Backlite  มีค่า Dielectric constant เท่ากับ 5  Mica capacitors ส่วนใหญ่จะมีหลากหลายค่าความจุตั้งแต่ 1pF ไปจนถึง 0.1uF และทนแรงดัน ตั้งแต่ 100 Vdc ถึง 2500 Vdc

1.2 Ceramic Capacitors ใช้ เซรามิคเป็นวัดสดุที่ใช้เป็นฉนวน ซึ่งเซรามิคมีค่าความเป็นฉนวนที่สูงอยู่ที่ ค่า Dielectric constant เท่ากับ 1200 ส่งผลให้มีค่าความเก็บประจุที่สูงและมีขนาดเล็ก Ceramic capacitors ส่วนใหญ่จะมีหลากหลายค่าความจุตั้งแต่ 1pF ไปจนถึง 2.2 uF และทนแรงดัน ได้ถึง6000 Vdc Ceramic Capacitors มีลักษณะใกล้เคียงอุดมคิติมากเพราะ Low ESR และ leakage current ราคาไม่แพง แต่มีขนาดเล็กทำให้ค่าความจุมีขนาดน้อย Ceramic Capacitors เหมากับงานที่ High frequency coupling และ decoupling application

นอกจากนี้ยังมีแบบ SMD type ที่เราเรียกว่า Multilayer Ceramic Capacitors หรือ MLCC ซึ่งเหมาะกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์สมัยใหม่ เช่น มือถือ ทีวี รถยนต์ ต่างๆ

1.3 Electrolytic Capacitors เป็นตัวเก็บประจุที่มีขั้ว (ใส่ผิดขั้ว ระเบิด หลังจากระเบิดแล้วจะทำให้ short circuit) มีหลากหลายค่าความจุตั้งแต่ 0.1uF ไปจนถึง 2.7 F และทนแรงดัน ได้ถึงถึง 630 Vdc จะเห็นได้ว่า Electrolytic Capacitors   ให้ค่าความจุที่มากกว่าแบบ Ceramic หรือ Mica แต่ว่าทนแรงดันได้น้อยกว่า

Electrolytic Capacitors แบ่งได้เป็น  2 ชนิด

Aluminum Electrolytic dielectric ทำมาจาก Aluminum oxide ราคาไม่แพง

Tentalum Electrolytic dielectric ทำมาจาก Tentalum pentoxide มีคุณสมบัติ low leakage และมีขนาดของค่าตัวเก็บประจุสูง  reactance ต่ำ ที่ความถี่สูง  มีขนาดเล็กและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  แต่ว่าราคาแพงกว่า Aluminum Electrolytic  ใช้กันในอุปกรณ์ทางการแพทย์และงานที่ต้องการความเสถียรของระบบสูง

2. Variable capacitors ตัวเก็บประจุปรับค่าได้
Variable capacitors ส่วนใหญ่ มีค่าน้อบกว่า 300pF หรืออาจะมีค่ามากกว่านี้ขึ้นอยู่กับ application