ลักษณะของการเขียน Mind Mapping ที่ดี

ลักษณะสำคัญของการเขียน Mind Mapping หรือ แผนภาพทางความคิด ที่ดีนั้น ควรจะต้องมีลักษณะแผ่รัศมีออกจากศูนย์กลางขยายออกไปเรื่อยๆเชื่อมโยงกัน เปรียบได้กับเหมือนต้นไม้ ที่มีการแตกกิ่ง ก้าน ใบ หรือ เหมือนการแตกแขนงของเส้นต่างๆของเซลสมอง โดยมีตรงกลางคือนิวเคลียส ซึ่งเปรียบเหมือนข้อมูลสำคัญ
โดยข้อมูลใน Mind Mapping ควรประกอบไปด้วยคำสำคัญและรูปภาพ โดยองค์ประกอบเหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันด้วยเส้นและมีการกระตุ้นการจำด้วยการใช้สีที่หลากหลายมีการเน้นถึงข้อมูลสำคัญ ซึ่ง Mind Mapping นั้นจะประกอบไปด้วย แก่นแกน(หัวข้อเรื่อง) กิ่งแก้ว(หัวข้อหลัก) กิ่งก้อย(หัวข้อรองหรือหัวข้อย่อย)

สำหรับหลักการเทคนิคในการการเขียน Mind Mapping นั้นควรจะ
1.เริ่มจากการเขียนตามแนวนอนของกระดาษเสมอ เพื่อให้มีพื้นที่ในการแตกแขนงของเส้นต่างๆของ Mind Mapping
2. มีการใช้สีที่หลากหลาย อย่างน้อย 3 สี หรือยิ่งมีจำนวนสีเยอะยิ่งดี
3. การใช้คำที่ใช้จะต้องไม่ยาวไป จนจำไม่ได้ หรือไม่รู้เรื่อง

และนี้ก็เป็นเคล็ดลับในการเขียน Mind Mapping ที่ดี ที่เพื่อนๆควรจะนำเอาไปใช้งานในการเขียน Mind Mapping ในทุกๆครั้ง ก็จะทำให้การเขียน Mind Mapping ของเรานั้นมีความเข้าใจได้ไง ทำให้เราไม่สับสน และที่สำคัญทำให้เราเราเข้าใจและจดจำได้ดีอีกด้วย

Mind Map คืออะไร? มาทำความรู้จักกันเถอะ

tennis-mindmap

เพื่อนๆรู้จัก Mind Map หรือ แผนภาพทางความคิดกันหรือเปล่า

Mind Map หรือ แผนภาพทางความคิด คือ การเขียนแผนภาพที่เกิดจากการถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลต่างๆลงเป็นรูปภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ หรือ คำพูดสั้นๆ ในลักษณะเป็นเส้นเชื่อมโยงแผ่รัศมีแตกแขนงออกจากศูนย์กลางออกไปเหมือนกิ่งก้านของต้นไม้

Mind Map มีข้อดีมากกว่าการจดบันทึกด้วยตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว จะสังเกตได้ว่าคนเรามักจะจดจำรูปภาพ ได้ดีดีกว่าตัวหนังสือ หากรูปภาพนั้นมีสีสันก็จะทำให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้น Mind Map จึงประกอบไปด้วยรูปภาพ เส้น สี และ สัญลักษณ์ต่างๆโดยมีการเขียนตัวหนังสือด้วยคำสั้นๆเท่านั้น

Mind Map ถูกคิดค้นโดย Tony Busan นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ในปี 1970 เขาพบว่าตัวเขาเองเรียนได้แย่ลงทั้งๆที่เขาจดเลกเชอร์ทุกครั้งในห้องเรียน Tony Busan พบว่า คนเก่งๆ นักวิทยาศาสตร์ใช้การวาดภาพ สี และ สัญลักษณ์ในการจดบันทึก เขาจึงพัฒนา แนวคิด Mind Map ขึ้นมาซึ่งเป็นที่นิยมและแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน

ทีนี้เพื่อนๆก็ได้รู้จักความหมายและประวัติของ Mind Map ซึ่งหากเราสามารถนำไปใช้ได้แทนการจดบันทึกแบบเดิมก็จะเป็นการช่วยให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน