วิธีคำนวณ Cumulative Demand และ Continue Cumulative Demand ของการใช้งานไฟฟ้า

ค่า Cumulative Demand (CUM DM) หรือชื่อเต็มๆก็คือ Cumulative Maximum Demand โดย Cumulative Demand นั้นจะคิดจากการนำเอา Maximum Demand (MD หรือ MAX DM) แต่ละเดือนหรือแต่ละรอบบิลมาบวกสะสมกัน (ตามชื่อ Cumulative ที่แปลว่าการสะสมของค่า) ตามสูตรด้านล่าง

CUM DM = MAX DM เดือนปัจจุบัน + CUM DM เดือนที่ผ่านมาทั้งหมด

ตัวอย่างของการคำนวณ Cumulative Demand Active Power (kW) โดยสมมติให้ครบรอบบิลตอนสิ้นเดือน

เดือนค่า Maximum Demand (kW)ค่า Cumulative Demand (kW)
สิ้นเดือนมกราคม (เดือนแรก)1,3051,305 (1,305 + 0)

 

สิ้นเดือนกุมภาพันธ์1,2532,558 (1,305+1,253)

 

สิ้นเดือนมีนาคม1,1453,703 (2,558+1,145)

 

สิ้นเดือนเมษายน1,5005,203 (3,703+1,500)

 

สิ้นเดือนพฤษภาคม1,6666,869 (2,645+1,666)

 

 

จะเห็นว่าในเดือนแรกค่า Maximum Demand และค่า Cumulative Demand จะมีค่าเท่ากัน (Cumulative Demand เดือนก่อนหน้านี้เป็น 0)

โดยค่า Max Demand จะมีการ Reset เริ่มใหม่ทุกเดือนส่วนค่า Cumulative Demand นั้นจะไม่มีการ Reset ในแต่ละเดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่า Cumulative Demand นั้นมีประโยชน์เพื่อที่จะนำเอาไว้เป็นตัวตรวจสอบและคำนวณค่า Max Demand ย้อนกลับได้

 

นอกจากค่า Cumulative Demand แล้วก็ยังมีอีกค่าหนึ่งที่ชื่อว่า Continue Cumulative Demand (CONT CUM DM) จะคิดได้จากการนำเอาค่า Cumulative Demand มาบวกกับค่า Maximum Demand ที่ยังไม่ได้ทำบิล ตามสูตรนี้

CONT CUM DM = MAX DM (ค่าปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้ทำบิล) + CUM DM เดือนที่ผ่านมาทั้งหมด

ตัวอย่างของการคำนวณ Continue Cumulative Demand Active Power (kW) โดยสมมติให้ครบรอบบิลตอนสิ้นเดือน

เดือนค่า Maximum Demand (kW)ค่า Cumulative Demand (kW)ค่า Continue Cumulative Demand (kW)
สิ้นเดือนมกราคม (เดือนแรก)1,3051,305

 

สิ้นเดือนกุมภาพันธ์1,2532,558

 

สิ้นเดือนมีนาคม1,1453,703

 

สิ้นเดือนเมษายน1,5005,203

 

วันที่ 17 พฤษภาคม ( ยังไม่ครบเดือน)2,415 (ค่าปัจจุบันล่าสุดที่ยังไม่ครบเดือน)–       (ยังไม่มีเพราะยังไม่ครบเดือน)

 

2,645 (5,203+2415)

 

การคิดค่า Maximum Demand

Maximum Demand หรือ Peak Demand คือค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยสูงสุด Demand ในรอบของเดือนนั้นหรือรอบบิลนั้นๆ

การคิดค่า Maximum Demand นั้นคิดมาจากการเปรียบเทียบค่า Demand ในแต่ละ Interval (ในประเทศไทยจะใช้ interval ที่ 15 นาที) หากใน Interval ไหนมีค่ามากก็จะกลายเป็นค่า Maximum Demand แล้วทำการเปรียบเทียบแต่ละ Interval ไปเรื่อยๆ จนถึง Interval สุดท้ายของเดือนหรือของรอบบิลนั้นแล้วบันทึกลงไปในบิลค่าไฟ หลังจากนั้นจึงทำการ reset ค่า Maximum Demand ให้เป็น 0 เพื่อที่จะคำนวณเปรียบเทียบค่า Demand ในรอบเดือนหรือบิลใหม่ต่อไป

ตัวอย่างการเปรียบเทียบ Demand แต่ละ interval เพื่อนำมาคิดเป็นค่า Maximum Demand

ตัวอย่าง ค่า Maximum Demand ที่ทางการไฟฟ้านำมาคิดเงินจากผู้ใช้งาน การคิดค่าไฟฟ้าจาก กิจการขนาดกลางจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)