ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Demand ค่าความต้องการใช้กำลังไฟฟ้า

Demand คือการวัดความต้องการใช้พลังงาน (กำลังงาน) ในระหว่างช่วงเวลาที่เรากำหนด สามารถนำไปใช้ในการคิดคำนวณการคิดเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงจุดประสงค์ที่สำคัญก็คือการสามารถคำนวณและคาดคการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าได้
โดยทั่วไปการคำนวณค่า Demand จะคำนวณจาก ค่าความแตกต่างระหว่างการใช้งงานพลังงาน ณ เวลา แต่ละจุด ดังสมการด้านล่างนี้

fomula1

โดย D คือ Demand, E คือ พลังงงาน, t คือเวลา

มีวิธีคิดคำนวณอยู่ 2แบบ นั้นคือ
1. Block demand
เป็นการคำนวณค่า Demand ระบุการคำนวณในระยะช่วงเวลาที่กำหนดหรือ Demand interval ซึ่ง Demand interval กำหนดเป็นช่วงระยะเวลาเช่น 10นาที (ยุโรปใช้งานกันที่ 10 นาที) 15 นาที (ส่วนใหญ่ใช้กันที่ 15 นาที, ประเทศไทยก็ใช้ ค่า Demand ที่ค่านี้)
เมื่อจบ Demand interval ของแต่ละ block ค่า Demand ก็จะไปเริ่มต้นนับใหม่ ในทุกๆครั้งที่ครบ interval ไปเรื่อยๆ ทำให้แต่ละ block นั้นมีค่า Demand อิสระต่อกัน
ตัวอย่าง Block Demand

block+demand

Demand interval = 15 นาที
ที่เวลา 12:00 Demand จะถูกเคลียร์เป็นค่า 0 แล้วเริ่มนับใหม่
ที่เวลา 12:15 Demand จะถูกเคลียร์เป็นค่า 0 แล้วเริ่มนับใหม่
ที่เวลา 12:30 Demand จะถูกเคลียร์เป็นค่า 0 แล้วเริ่มนับใหม่
ที่เวลา 12:45 Demand จะถูกเคลียร์เป็นค่า 0 แล้วเริ่มนับใหม่

2. Sliding demand หรือ rolling demand
การคำนวณแบบ Sliding demand หรือ rolling demand จะคำนวณต่างจากแบบ Block demand โดย sliding demand จะเป็นการคำนวณที่มีการอ้างอิงถึง Block ที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่า sub-interval เป็นตัวบอกถึงความถี่ในการอัพเดตข้อมูล และมี Main-interval จะทำการคำนวณโดยนำค่า sub-block ตัวที่เก่าที่สุดออกแล้วอัพเดตค่า sub-interval ใหม่เข้าไป ซึ่งจะทำให้ค่า Demand นั้นมีการ เฉลี่ยแบบ rolling นั้นเอง

ตัวอย่าง Sliding Demand

sliding+demand

ปัจจุบันนิยมใช้ การคำนวณแบบ Block demand ซึ่งจะมีความซับซ้อนน้อย ทำให้การคำนวณได้รวดเร็วและ ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่าย