วิธีการเอาเสียง Google มาใช้งาน

บทความนี้จะมาสอนวิธีเอาเสียงพูดของ Google ที่เราได้ยินใน Google assistant หรือ Google translate เอามาใช้งานใน Application ของเรา หรือ งานอื่นๆของแล้วแต่คนประยุกต์การใช้งาน

โดยวิธีการก็มี 2 แนวทางคือใช้ API ของ Google ซึ่งเป็นของ Google Cloud ซึ่งจะมีการคิดค่าบริการ (รายละเอียด https://cloud.google.com/text-to-speech) หรือ ใช้ soundoftext

หาก Application ของเราต้องการใช้เสียงซ้ำๆที่ไม่ซ้ำซ้อนมากๆเราสามารถใช้ soundoftext ได้
ตัวอย่างการใช้งาน soundoftext ก็คือ

เข้าไปที่เว็บ https://soundoftext.com/ เลือก Voice หรือ ภาษาที่เราต้องการให้แปลงเป็นเสียงพูด เสร็จพิมพ์ข้อความเข้าไปแล้วกด Submit

เราก็จะได้ข้อความที่ถูกแปลงเป็นเสียงพูดเป็นไฟล์ mp3 แล้ว คลิก Download หรือจะลอง Play ดูก่อนก็ได้

เพียงเท่านี้เราก็ได้ข้อความเสียงที่เป็นเสียงพูดจาก Google นำมาใช้งานใน Application ของเราแล้วแบบง่ายๆเลย

วิธีใช้ Google Meet นัดหมายและทำ Video conference

ในบทความนี้จะมาสอนวิธีใช้งาน Google Meet สำหรับทำการนัดหมายเพื่อประชุมงาน หรือ นัดหมายเพื่อจะทำการ Tele conference หรือ Video conference

ก่อนอื่นให้เราไปที่เว็บ Google แล้ว Login เข้าระบบไปตามปกติ แล้วสังเกตจะมีสัญลักษณ์จุดๆ ให้เรากดแล้วเลือกไปที่ calendar

แล้วทำการเลือก Create ปุ่มด้านซ้ายมือบน

ก็จะมี pop up ขึ้นมาให้เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับการนัดประชุม ให้เราทำการกด หากเรากดที่ More option

ให้เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับการ Meeting ลงไป เช่น เวลาการนัดหมาย สถานที่ หากใครต้องการทำ Video conference ก็ให้เรากดเลือกที่ Hangouts Meet ด้วย Google ก็จะทำการ Generate URL มาให้เรา

ทางด้านซ้ายมือ เราสามารถนัดคนที่จะมาเข้าร่วมประชุมได้ โดยเราสามารถพิมพ์ชื่อ Email ลงไป โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น Gmail สามารถใช้ Email ที่อื่นก็ได้ นอกจากนี้เรายังสามารถให้สิทธิกับคนที่เราเชิญเข้าประชุมสามารถเชิญคนอื่นเข้าร่วมประชุมได้ สามารถเลือกได้ที่ Invite others

หลังจากนั้นให้เรากด Save ก็จะมีหน้าต่าง Pop up ถามให้เราส่งข้อมูลให้กับคนที่เราเชิญ ให้เรากด Send และ Invite external guests ได้เลย

คนที่ได้รับเชิญก็จะได้ Email หากใครใช้ Outlook ก็จะได้ Email ดังรูป

หาอะไรก็เจอใน Google

ในบทความนี้จะมาแนะนำทิปเทคนิคเล็กๆน้อยๆสำหรับการค้นหาข้อมูลใน Google กันนะ เอาละมาเริ่มกันเลย

Understanding
เวลาเราค้นหาข้อมูลที่เราต้องการข้อมูลเชิงลึก ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะค้นหา นอกจากเราจะใช้ Keyword (คำที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจงกับสิ่งที่เราจะค้นหา) ของคำๆนั้นในการค้นหาตามปกติแล้ว ขอแนะนำให้เราใช้ คำนี้เข้าไปด้วย นั้นก็คือคำว่า “Understanding” แล้วตามด้วยคำที่เราจะค้นหา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะหาข้อมูลหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ Bluetooth เราก็จะค้นหาว่า Understanding Bluetooth technology

101
นอกจากนี้หากเราอยากเรียนรู้เกี่ยวกับคำที่เราค้นหาแบบเบื้องต้นๆ ง่ายๆ เบสิคๆ ก็แนะนำให้ใช้ คำว่า ข้อมูลที่เราจะหาแล้วตามด้วย 101 เช่น ถ้าอยากรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตาร์เบื้องต้นก็ให้เราพิมพ์ว่า Mathematic 101

Double quote (” “)
อีกเทคนิคหนึ่งก็คือการค้นหาคำที่เฉพาะเจาะจง ให้เราใช้เครื่องหมายฟันหนู หรือ Double quote (” “) ครอบ keyword ที่เราค้นหา ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราต้องการจะหาหมายเลขข้อความ error 0x00000061 ที่ขึ้นบนหน้าจอของ Windows 10 ก็ให้เราค้นหาว่า Windows 10 error “0x00000061”

site:
และเทคนิคสุดท้าย เมื่อเราอยากจะค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์เว็บนั้นโดยเฉพาะโดยไม่ต้องการผลการค้นหาของเว็บอื่นเลย ให้เราใช้ site:website ตามด้วย keyword ตัวอย่างเช่น จะค้นหาคำว่า รีวิวไปเที่ยวเยอรมัน ในเว็บไซต์ pantip ก็ให้เราค้นหาคำว่า site:pantip.com รีวิวไปเที่ยวเยอรมัน

และนี้ก็เป็นทิปเทคนิคการค้นหาข้อมูลใน Google สามารถนำเอาใช้งานกันได้ ขอให้ทุกคนหาอะไรก็เจอตรงใจตามที่อยากได้นะ หาอะไรก็เจอถ้าใช้เทคนิคตามนี้ อย่าลืมนำเอาไปใช้กันละ

แหล่งรวม Website เรียนออนไลน์ฟรี!

ในยุคนี้สมัยนี้การเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว จากสมัยก่อนที่เราจะหาความรู้ต่างๆ ก็ต้องไปเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สมัยนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย จึงมีหลักสูตรหลากหลายรูปแบบที่เราสามารถเรียนรู้ได้ผ่านออนไลน์ เราทุกคนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้จากทุกมุมโลก ทุกเวลา ต่อไปโลกเราจะปรับเข้าสู่โหมด การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning ดังนั้นเราจึงได้รวบรวม Website สำหรับการเรียนรู้ในแขนงต่างๆ จากระบบออนไลน์มาฝาก โดยบางหลักสูตรก็สามารถเรียนได้ฟรีแถมยังมีใบ Certificate ให้อีกด้วย มาดูกันดีกว่าว่ามีเว็ปไหนบ้างที่น่าสนใจ

หลักสูตรเรียนออนไลน์ Online Study :


    • EDX เป็นเว็ปเรียนออนไลน์ที่ครอบคลุมศาสตร์หลายด้าน เช่น Computer, Language, Data Science, Business & Management, Engineering และ Humanities ใครสนใจลองเข้าไปดูได้ที่นี่ http://www.edx.org/

    • Space by CBS เป็นเว็ปจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีการนำเสนอหลักสูตรจาก Chulalongkorn Business School: CBS ลองเข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่นี่ https://space.cbs.chula.ac.th/login/


    • CHULA MOOC
      เป็นเว็ปไซด์จากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นกัน โดยเป็นคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ที่เราสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการ Login ผ่าน Facebook มีหลักสูตรที่ค่อนข้างหลากหลาย ลองเข้าไปดูข้อมูลกันได้ https://mooc.chula.ac.th/how-to

    • Google Digital Garage เป็นเว็ปไซต์การเรียนรู้ออนไลน์จากทาง Google มีหลายหลักสูตรที่เป็นเทรนด์ใหม่และน่าสนใจมากๆ เรียนได้ที่นี่ https://learndigital.withgoogle.com/digitalgarage/courses

    • Microsoft ก็เป็นอีกเจ้าที่สอนหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับเทคโนโลยี เทรนด์นวัตกรรมใหม่ๆ ใครสนใจแนวนี้สามารถเข้าไปเรียนกันได้ https://aischool.microsoft.com/en-us/business/learning-paths

    • Thaimooc เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่รวบรวมหลักสูตรสำหรับเรียนออนไลน์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศเข้าไปอัพเดทหลักสูตรใหม่ๆได้ที่ https://thaimooc.org/courses

    • SkillLane เป็นผู้ให้บริการหลักสูตรเรียนออนไลน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ครบเกือบทุกหมวดหมู่ที่สำคัญมีภาษาไทยเยอะมากด้วยไปดูกันได้ https://www.skilllane.com/

    • Coursera เป็นแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ที่โด่งดังมากมีทั้งเป็นเว็ปไซด์และแอพพลิเคชั่น เข้าไปทดลองเรียนกันได้จ้ามีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน https://www.coursera.org/

  • Class Central เป็นเว็ปที่รวบรวมหลักสูตรออนไลน์จากหลายๆที่ทั่วโลกไว้ ถ้าไม่รู้จะเรียนอะไรที่ไหนเราสามารถเข้ามาที่นี่ได้ที่เดียวจบครบเลยมีให้เลือกมากมาย https://www.classcentral.com/about