ทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศได้เริ่มตันขึ้นจากการวางระบบอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2 ฉบับ คือ
- อนุสัญญาปารีส ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ค.ศ. 1883
PARIS CONVENTION FOR THE PROTECTION OF INDUSTRIAL PROPERTY
- อนุสัญญาเบอร์น ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมค.ศ. 1886
BERNE CONVENTION FOR THE PROTECTION OF LITERARY AND ARTISTIC WORKS
และต่อมาได้มีการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการคุ้มครอง
ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ประเทศต่างๆทั่วโลกผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ
ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาฉบับนี้
ความร่วมมือพหุภาคี (MULTILATERAL)
- องค์การการค้าโลก (WORLD TRADE ORGANIZATION: WTO)
– ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกจำนวน 164 ประเทศ
– ประเทศสมาชิก WTOจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการค้าเกี่ยวกับสิทธิ
ในทรัพย์สินทางปัญญา หรือ TRIPS AGREEMENT ซึ่งมีมาตรฐานการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ทุกประเภทเช่นลิขสิทธิ์สิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และความลับทางการค้า เป็นตัน
- องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WORLD INTELLECTUAL PROPERTY ORGANIZATION: WIPO)
– WIPO ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในหน่วยงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ
และมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญา
– สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
1) สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PATENT COOPERATION TREATY: PCT)
2) สนธิสัญญาพิธีสารกรุงมาดริด (MADRID PROTOCOL)
3) สนธิสัญญาความตกลงกรุงเฮก (HAGUE AGREEMENT)
ความร่วมมือทวิภาคี (BILATERAL)
- สหรัฐอเมริกา
- สหภาพยุโรป
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ญี่ปุ่น
- เกาหลี
- เวียดนาม
- สปป. ลาว
- กัมพูชา
ความร่วมมืออาเซียน (ASEAN)
การประชุมคณะทำงานความร่วมมือค้นทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (ASEAN WORKING GROUP ON INTELLECTUAL PROPERTY COOPERATION: AWGIPC)
– แผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียนปี 2559-2568
ที่มาจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา